(662) 182-5109-10

GLOBAL LOGISTICS PROGRESS CO., LTD. > OUR SERVICES > CUSTOM CLEARANCE

CUSTOM CLEARANCE

บริการดำเนินพิธีการศุลกากรทั้งขาเข้าและขาออก
คลังสินค้าปลอดอากร (Free Zone Warehouse) หมายถึง พื้นที่ของคลังสินค้าที่อยู่ในเขตปลอดอากร (Free Zone-FZ) ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้สำหรับการอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยสินค้าที่นำเข้าไปในเขตพื้นที่ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นเขตปลอดอากรนี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรที่ทางกฏหมายบัญญัติไว้ โดยพื้นที่ดังกล่าวจะถูกสมมุติให้เป็นพื้นที่ซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักร เพื่อการจัดเก็บสินค้านำเข้ามาจากต่างประเทศ

ทั้งนี้คลังสินค้าในเขตปลอดอากรนี้จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแล และการควบคุมของกรมศุลกากรทั้งท่าเรือ และท่าอากาศยาน ที่มีการนำเข้าสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการที่เช่าพื้นที่คลังสินค้าดังกล่าว จะต้องทำหนังสือแจ้งการนำเข้าและออกนอกพื้นที่โดยตรงต่อศุลกากรในพื้นที่ควบคุม ซึ่งข้อดีของคลังสินค้าปลอดอากรนี้จะอยู่ที่ หากสินค้าที่นำเข้ามาจัดเก็บในคลังไม่ถูกเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่ ผู้ประกอบการที่สั่งนำเข้าสินค้าเหล่านั้นก็ยังไม่จำเป็นต้องเสียภาษี จนกว่าจะมีคำสั่งซื้อสินค้านั้นๆ จากลูกค้าแล้วถูกนำออกนอกพื้นที่ หรือแม้แต่หากพบว่า สินค้านำเข้าดังกล่าวมีการชำรุดเสียหาย ก็สามารถนำส่งคืนไปยังผู้ส่งต้นทางได้โดยไม่ต้องเสียภาษีการนำเข้า หรือส่งออกแต่อย่างไร

สำหรับสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการ พึงทราบเกี่ยวกับพื้นที่ปลอดอากร มีดังนี้
1.ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตและภาษีอื่นที่เกี่ยวข้องสำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ รวมทั้งส่วนประกอบของดังกล่าวที่ใช้ในการสร้างโรงงาน วัตถุดิบของอื่นที่ใช้ประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือ กิจการอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจประเทศที่นำเข้ามาในคลังสินค้าปลอดอากร เช่น – ยกเว้นภาษีสุรา การปิดแสตป์ กฎหมายว่าด้วยยาสูบและกฎหมายว่าด้วยไพ่ สำหรับของที่นำเข้าและการผลิตในเขตปลอดอากร

2.ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้ามาในเขตปลอดอากร

3.ได้รับยกเว้นหรือคืนเงินค่าภาษีอากรส่งออกสำหรับของที่นำเข้าไปในเขตพื้นที่ปลอดอากร เสมือนการส่งของนั้นออกนอกราชอาณาจักร

4. ได้รับการยกเว้นอากรขาออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต สำหรับของที่ปล่อยออกจากพื้นที่ฯ เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร

5. สามารถจำหน่ายของในเขตปลอดอากรให้คลังสินค้าทัณฑ์บน หรือผู้ได้รับสิทธิ์คืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ยกเว้นอากรตามพ.ร.บ.พิกัดฯส่งเสริมการลงทุน หรือกฎหมายอื่น เสมือนการนำของจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร

6. ของที่นำออกจากพื้นที่ฯ เพื่อใช้ หรือบริโภคภายในประเทศต้องชำระค่าภาษีอากรโดยการคำนวณตามสภาพ ราคาของ พิกัดและอัตราในเวลาที่ปล่อยของนั้นออกจากFZโดยถือเสมือนว่านำเข้ามาในประเทศ และในวันที่นำออกจากพื้นที่สามารถนำมูลค่าของวัดถุดิบในประเทศที่นำเข้ามาผลิตของนั้นหักออกจากราคาไม่ต้องนำมาคำนวณค่าภาษีอากรถ้าของที่นำเข้าไปนั้นไม่มีสิทธิ์ได้รับคืนหรือยกเว้นอากร

7. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำวัตถุดิบที่เข้าไปพื้นที่ เพื่อผลิต ผสม ประกอบแล้วนำออกมาจำหน่ายภายในประเทศ สามารถใช้อัตราต่ำสุด เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ (ตามประกาศ116พ.ศ.2549)

8. ได้รับการยกเว้นอากรสำหรับของที่เสียหาย ของที่ใช้ไม่ได้ของที่ไม่ได้ใช้ในFZ ที่ได้รับอนุมัติให้ทำลาย

9. สามารถโอนและรับโอนจาก FZหรือ EPZได้

10.สามารถนำของไปผ่านกระบวนการผลิต บางขั้นตอนนอกFZได้

11.ได้รับการยกเว้นและไม่อยู่ภายในบังคับของกฎหมายเกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพและมาตราฐาน (มอก.) สำหรับของที่นำเข้าไปในFZเพี่อผลิต ผสม ประกอบ บรรจุหรือดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร

12.ได้รับสิทธิยกเว้นค่าภาษีอากรตลอดเวลาที่อยู่ในFZ โดย
-ไม่ต้องยืนสูตรการผลิต
-ไม่ต้องวางประกัน
-ไม่มีกำหนดเงื่อนไขในจำนวนที่ส่งออก
-ไมมีเงื่อนเวลาในการส่งออก

13.การนำของเข้าและส่งออกจากFZ สามารถปฎิบัติพิธีการศุลกากรได้ไม่ต้องขออนุญาตจาก กนอ.ซึ่งเป็นการให้บริการแบบ ONE STOP SERVICE

14. กรณี FZ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของการนิคมฯ สามารถใช้สิทธิตามพ.ร.บ.การนิคมฯพ.ศ.2522ได้ (ม.45ม46) ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวที่เป็นช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการ เข้ามาในราชอาณาจักรและทำงานใน FZ ได้

15.กรณี FZ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของการนิคมฯสามารถใช้สิทธิตามพ.ร.บ.การนิคมฯพ.ศ.2522ได้รับอนุญาตให้ส่งเงินตราต่างประเทศไปนอกอาณาจักรได้ (ตามม.47)

16. เป็นพื้นที่FZ ที่ไม่มีพื้นที่ติดกับท่าอากาศยานฯ

17. เป็นพื้นที่ FZ ที่เน้นเชิงอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมหรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์เศรษฐกิจของประเทศ

18. เป็นพื้นที่FZที่ให้เป็นผู้ประกอบการที่เป็นผู้ประกอบการผลิต ผสม ประกอบ แท้จริง

19. เป็นพื้นที่FZ ที่ไม่มีพื้นที่ติดกับท่าอากาศยานฯเมื่อมีสินค้าที่นำมาจากต่างประเทศจะต้องดำเนินพิธีการศุลกากร(ทำใบขน)จึงจะเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากพื้นที่คลังสินค้าที่ท่าอากาศยานฯได้

20.เมื่อมีการขนส่งสินค้าออกจากพื้นที่คลังสินค้า ทำให้สิ้นเปลืองต้นทุนการขนส่งซึ่งมีระยะทางใกล้ไกลขึ้นอยู่กับสถานที่ของ FZนั้น

21. การเคลื่อนย้ายสินค้าประเภทสินค้าถ่ายลำ (แนบ9 ) หรือสินค้าผ่านแดนเข้าพื้นที่ FZ ไม่ได้

22.การนำสินค้าเข้าเพื่อมากระจายสินค้าเพื่อส่งออกราชอาณาจักรจะต้องดำเนินพิธีการศุลกากร ทั้งนำเข้าและการส่งออก

23.การจัดทำรายงานการดำเนินการในเขตปลอดอากร ผู้ประกอบการสามารถส่งรายงานให้กรมศุลกากรได้โดยตรง

24.สามารถแก้ไขชื่อผู้รับสินค้า ในใบตราส่ง

25.การผ่านพิธีการศุลกากรมีการทำใบขนมีหลายประเภท เช่น ใบขนสินค้าออก “1”, “0”, “D”, “A”, “B” เป็นต้น เพราะอาจมี EPZ, FZ, BOI, ทัณฑ์บน อยู่ในอาณาเขตเดียว

26.สินค้าที่ฝากเก็บในเขตปลอดอากร จะสามารถเก็บได้ไม่เกิน 2 ปี ถ้าครบกำหนดแล้ว สามารถยื่นเรื่องขอขยายระยะเวลาจัดเก็บไปอีก 1 ปีได้

CONTACT US GLOBAL LOGISTICS PROGRESS CO., LTD.
999/99,999/119 หมู่ 15 ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10570

TEL : (662) 182-5109-10
FAX : (662) 182-5108
E-MAIL : sale@glp.co.th
Login Email
SOCIAL MEDIA